Archive | มีนาคม 22nd, 2023

การศึกษานิวซีแลนด์ จับมือ มทร. และ 13 โรงเรียนของไทย ขยายหลักสูตร ป.ตรีไฮบริดนิวซีแลนด์ทางลัดเด็กไทยสู่ ม.ท็อปของโลก

การศึกษานิวซีแลนด์ จับมือ มทร. และ 13 โรงเรียนของไทย ขยายหลักสูตร ป.ตรีไฮบริดนิวซีแลนด์ทางลัดเด็กไทยสู่ ม.ท็อปของโลก

Posted on 22 มีนาคม 2023 by writer

          หน่วยงานการศึกษานิวซีแลนด์ (Education New Zealand; ENZ)  ร่วมกับ มหาวิทยาลัยโอทาโก ประเทศนิวซีแลนด์ ลงนามความร่วมมือ (MOU) กับเครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล(มทร.)ทั่วประเทศ และ 13 โรงเรียนของไทย ขยายหลักสูตรปริญญาตรีไฮบริดนิวซีแลนด์ รุ่นที่ 3 ประจำปีการศึกษา 2566 เส้นทางลัดเพิ่มโอกาสเด็กไทยเข้ามหาวิทยาลัยติดท็อปของโลก เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ไปจนถึง 30 เม.ย.2566

DSC_8868-1_resize

          ผศ.ดร.สมหมาย ผิวสะอาด อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญญบุรี หรือ RMUTT) เปิดเผยว่า การลงนามในความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาของไทยและนิวซีแลนด์ครั้งนี้ จะช่วยเพิ่มโอกาสให้กับนักเรียนไทยสามารถเข้าไปศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยติดอันท็อปของโลกทั้ง 8 แห่งของนิวซีแลนด์ ในหลักสูตรปริญญาตรีไฮบริดนิวซีแลนด์ (Business Foundation Studies Programme) เป็นหลักสูตรเตรียมความพร้อมปริญญาตรีที่ Education New Zealand ร่วมกับ มหาวิทยาลัยโอทาโก และ RMUTT ร่วมกันพัฒนาเพื่อเด็กไทยโดยเฉพาะเมื่อปี พ.ศ.2564 เป็นรุ่นแรก สำหรับในปีพ.ศ. 2566 ถือเป็นรุ่นที่ 3 ได้ขยายความร่วมมือไปยังเครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.)ทั่วประเทศ ได้แก่ มทร.ธัญญบุรี (RMUTT), มทร.อีสาน (RMUTI), มทร.พระนคร (RMUTP), มทร.สุวรรณภูมิ(RMUTS),มทร.กรุงเทพ (RMUTK), มทร.ตะวันออก(RMUTTO), มทร..ล้านนา (RMUTL) และมทร.รัตนโกสินทร์ (RMUTR)

          นอกจากนี้ ยังได้รับความร่วมมือจาก 13 โรงเรียนของไทยที่เข้าร่วมโครงการ ได้แก่  โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย, โรงเรียนชลราษฎรอำรุง(ชลบุรี), โรงเรียนชลกันยานุกูล(ชลบุรี), โรงเรียนพนัสพิทยาคาร (ชลบุรี), โรงเรียนปทุมวิไล (ปทุมธานี) , โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา(ชลบุรี),โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย(เชียงใหม่),โรงเรียนสาธิตนานาชาติทวิภาษาแห่งมหาวิทยาลัยรังสิตเชียงใหม่,โรงเรียนระยองวิทยาคม,โรงเรียนวัดป่าประดู่(ระยอง),โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง, โรงเรียนสาธิตสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ และโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี

2023-02-04_9-53-53 (9 RMMUT-2)_resize

          ทั้งนี้ หลักสูตรปริญญาตรีไฮบริดนิวซีแลนด์ เป็นหลักสูตรเตรียมความพร้อมปริญญาตรี ที่จะช่วยให้น้องๆปรับพื้นฐานและปรับตัวก่อนเดินทางไปใช้ศึกษาต่อในรั้วมหาวิทยาลัยที่ประเทศนิวซีแลนด์ เรียน 8 เดือน โดยทาง มหาวิทยาลัยโอทาโก และ RMUTT จัดหลักสูตรการสอนปรับพื้นฐานด้านธุรกิจเป็นระยะเวลา 2 เทอม เทอมละ 13 สัปดาห์  โดยเทอม 1 (26 มิถุนายน – 6 ตุลาคม 2566) เรียนที่ไทย โดยคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และมหาวิทยาลัยโอทาโก ที่ศูนย์การเรียนรู้ไทย-นิวซีแลนด์ (TNZC) กรุงเทพฯ ส่วนเทอม 2 (16 ตุลาคม 2566 – 9 กุมภาพันธ์ 2567) จะบินไปเรียนในห้องเรียนจริงที่มหาวิทยาลัยโอทาโก ประเทศนิวซีแลนด์

          หลังเรียนจบ 8 เดือน ผู้ผ่านเกณฑ์จะได้รับประกาศนียบัตรหลักสูตรพื้นฐานด้านธุรกิจ (เทียบเท่าจบป.ตรีปี1) สามารถนำไปยื่นเพื่อเข้าศึกษาต่อปริญญาตรีไฮบริดนิวซีแลนด์ได้ทันทีและเรียนอีกเพียง 3 ปีก็สามารถจบปริญญาตรีนิวซีแลนด์ โดยสามารถยื่นได้ในมหาวิทยาลัยโอทาโก และมหาวิทยาลัยทุกแห่งของนิวซีแลนด์ นอกจากนี้หลังเรียนจบยังสามารถทำงานต่อในนิวซีแลนด์ได้สูงสุดอีก 3 ปี

Ms.Lisa Futchek_resize

           คุณสมบัติเบื้องต้นของผู้สมัครหลักสูตรปริญญาตรีไฮบริดนิวซีแลนด์  รับสมัครนักเรียนที่มีวุฒิการศึกษาตั้งแต่ ม. 5 (อายุครบ 16 ปีบริบูรณ์ขึ้นและมีเกรดเฉลี่ยไม่ตํ่ากว่า 2.5) และ ม.6 (เกรดเฉลี่ยไม่ตํ่ากว่า 2.0) และผู้สมัครต้องมีผล IELTS อย่างน้อย 5.0 สำหรับน้องๆ ที่ภาษาอังกฤษเทียบเท่า IELTS 5.0 ทางมหาวิทยาลัยโอทาโกมีทุนการศึกษาเรียนภาษาอังกฤษ 8 สัปดาห์ก่อนเริ่มเรียน พร้อมเปิดโอกาสรับทุนการศึกษา 10,000 ดอลลาร์นิวซีแลนด์สำหรับทุนปริญญาตรี ม.โอทาโก (สมัครด่วน รับจำนวนจำกัด) เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้-30 เมษายน 2566

          รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.learnenglishnewzealand.com/ หรือสอบถามรายละเอียดหลักสูตรและสมัครเรียนได้ที่ Line Official @nzenglish  http://line.me/ti/p/%40nzenglish

ปิดความเห็น บน การศึกษานิวซีแลนด์ จับมือ มทร. และ 13 โรงเรียนของไทย ขยายหลักสูตร ป.ตรีไฮบริดนิวซีแลนด์ทางลัดเด็กไทยสู่ ม.ท็อปของโลก

ดีป้า เปิด “หลักสูตรผู้นำการส่งเสริมดิจิทัลด้านธุรกิจเกษตร” รุ่นที่ 4 นำเทคโนโลยีสู่การเปลี่ยนแปลงเข้ายุค BCG เพื่อพัฒนาที่ยั่งยืน

ดีป้า เปิด “หลักสูตรผู้นำการส่งเสริมดิจิทัลด้านธุรกิจเกษตร” รุ่นที่ 4 นำเทคโนโลยีสู่การเปลี่ยนแปลงเข้ายุค BCG เพื่อพัฒนาที่ยั่งยืน

Posted on 22 มีนาคม 2023 by writer

Print

            ดีป้า ประกาศเปิด “หลักสูตรผู้นำการส่งเสริมดิจิทัลด้านธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรม รุ่นที่ 4 หลัง ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีจากทั้ง 3 รุ่นที่ผ่านมา เพื่อเสริมทักษะ องค์ความรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านเกษตรสมัยใหม่ที่นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลมาประยุกต์ใช้แก่ผู้บริหารระดับสูงในภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ก่อนนำไปปรับใช้กับองค์กร สังคม ประเทศชาติ หลังโควิด19 เปลี่ยนโลก ชี้จุดแข็งของหลักสูตรเน้นเนื้อหาเข้มข้น ทันสมัย ทั้งเทคโนโลยีดิจิทัล สู่การเปลี่ยนแปลงเข้ายุคเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy หรือ BCG) โมเดลใหม่มาแรงขณะนี้ที่เน้นเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน สนใจสมัครเข้าร่วมอบรมได้ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 30 เมษายนนี้ คลิกเลย www.depa.or.th/th/cda  หรือส่งใบสมัครมาที่อีเมล์ cda.depa@gmail.com

            ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า กล่าวว่า ปัจจุบันเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio – Circular-Green Economyหรือ BCG) คือโมเดลใหม่ของเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ของภาคการเกษตรที่จะเกิดขึ้นซึ่งการเตรียมความพร้อมสำหรับการปรับเปลี่ยนกรรมวิธีการผลิต การเตรียมองค์กรและ กำลังคนให้มีความรู้ที่ทันสมัย ทันต่อการเปลี่ยนแปลงประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ากับองค์กรซึ่งมีความสำคัญอย่างมาก ดังนั้นสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) ได้ร่วมกับ บริษัท โนเนม ไอเอ็มซี จำกัด จึงจัดอบรมหลักสูตร “ผู้นำการส่งเสริมดิจิทัลด้านธุรกิจเกษตร และอุตสาหกรรมรุ่นที่ 4 (Chief of Digital Agro Business: CDA#4) ขึ้น ให้แก่ผู้บริหารระดับสูงภาครัฐ  เอกชน ผู้นำเกษตร และอุสาหกรรมเกษตรรุ่นใหม่ที่จะพาธุรกิจเกษตรไทยให้ก้าวไกล โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเสริมสร้างทักษะ องค์ความรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านเกษตรสมัยใหม่ที่มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมนำไปปรับใช้ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลแก่องค์กร สังคม และประเทศชาติต่อไป

ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์_03_resize

            สำหรับ หลักสูตรผู้นำการส่งเสริมดิจิทัลด้านธุรกิจเกษตร” รุ่นที่ 4 มีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิแถวหน้าของเมืองไทยกว่า 70 ท่าน ครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัลด้านการเกษตรในทุกมิติ อาทิ (Bio-Circular-Green Economy) โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน  Climate Action and Carbon Credit Digital Technologies IoT (Internet of Things), การใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลระดับสูง (Big Data Management)  เครื่องจักรกลอัตโนมัติ (Robot) ระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI)  การใช้อากาศยานไร้คนขับ (Drone) , Cloud,  AR & VR , Block chain,  Digital Marketing การวิจัยทางเทคโนโลยีชีวภาพ การบริหารจัดการผลิตผลการเกษตรแบบครบวงจร ฯลฯ รวมถึงกิจกรรมศึกษาดูงาน พร้อมถอดบทเรียนจากองค์กรต่าง ๆทั้งในประเทศและประเทศอิสราเอลกว่า 10 แห่ง

            ผู้สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมอบรมหลักสูตรผู้นำการส่งเสริมดิจิทัลด้านธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมรุ่นที่ 4 ได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 30 เมษายน 2566 ที่ www.depa.or.th/th/cda  โดยจะเปิดให้มีการอบรม วันที่ 9 มิถุนายน 2566  – 16 กันยายน 2566 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ผู้ประสานงานหลักสูตรฯ 089-203-0183 , 083-116-6581 095 665 5162 และ cda.depa@gmail.com

Poster 4P CDA4_resize

            โดยหลักสูตรนี้ได้เปิดอบรมมาแล้ว 3 รุ่นประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ลองมาฟังทัศนะจากผู้บริหารภาครัฐและเอกชน ที่เคยเข้ารับการอบรมฯ อาทิ ม.ร.ว. จัตุมงคล โสณกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า “ได้ความรู้จากวิทยากรหลากหลายที่เกี่ยวกับ การเกษตร และพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้ที่ เข้าร่วมอบรมด้วยกัน พอใจมากที่ได้มาเรียนหลักสูตรนี้” นายนราพัฒน์ แก้วทอง  ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า “วันนี้เกษตรต้องเปลี่ยนไป เทคโนโลยีดิจิทัลทางการเกษตรจะเข้ามาช่วยให้มีผลผลิตมากขึ้นดีขึ้น ขอเชิญชวนผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าอบรมดิจิทัลการเกษตรหลักสูตรนี้”  ส่วนนายชยันต์  ศิริมาศผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ เปิดเผยว่า “การเรียนรู้ในหลักสูตรนี้ ผลักดันและส่งเสริมให้จังหวัดนี้ ก้าวสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ขอบคุณ ดีป้า และคณาจารย์ทุกท่านครับ” นายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีเทศบาลนครยะลา กล่าวว่า  “เครือข่ายผู้นำและความรู้ประสบประการณ์ที่ได้รับ นำไปประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ผู้เข้าอบรมนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับองค์กร”

            ส่วน นายปณิธาน มีไชยโย ผู้อำนวยการ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกรกร (อ.ต.ก.) กล่าวว่า “หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรที่เปิดโลกทรรศด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมยุคใหม่ ในรูปแบบการอบรมที่ให้เห็นของจริง มีประโยชน์มากๆ ครับ” ดร.จิราพร ศิริคำ รองผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า “วิทยากรล้วนแต่เป็นกูรูระดับประเทศ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง ใครสนใจเกษตรมีโอกาสต้องมาเรียน” นางสาวเกศนรี จองโชติศิริกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานการตลาด บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “เป็นหลักสูตรสำหรับผู้บริหารที่ดีมาก เราสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้งานได้จริง ที่สำคัญได้รู้จักเพื่อนใหม่สร้างเครือข่ายกันและกันอยากให้หลักสูตรดีๆ แบบนี้มีต่อเนื่องไปเรื่อยๆคะ” นายธนาวุฑ เอื้อละพันธ์  รองประธานกรรมการ บริษัท อัครา กรุ๊ป จำกัด “เป็นหลักสูตรที่ดีมากสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง วิทยากรตัวจริงมาส่งต่อความรู้ให้และทำให้ผู้เรียนเกิดเครือข่ายที่สมบูรณ์แบบมากขึ้นด้วย” กล่าวในท้ายสุด

ปิดความเห็น บน ดีป้า เปิด “หลักสูตรผู้นำการส่งเสริมดิจิทัลด้านธุรกิจเกษตร” รุ่นที่ 4 นำเทคโนโลยีสู่การเปลี่ยนแปลงเข้ายุค BCG เพื่อพัฒนาที่ยั่งยืน

ดีป้า-หลักสูตรผู้นำส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล รุ่นที่ 6 (Digital CEO6) ศึกษายุทธศาสตร์การส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ณ ประเทศออสเตรีย

ดีป้า-หลักสูตรผู้นำส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล รุ่นที่ 6 (Digital CEO6) ศึกษายุทธศาสตร์การส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ณ ประเทศออสเตรีย

Posted on 22 มีนาคม 2023 by writer

12270_resize

     เวียนนา, ออสเตรีย – สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) โดยนายธีรนันท์ ศรีหงส์ ประธานกรรมการกำกับ, ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ depa และนายฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์ รองผู้อำนวยการใหญ่ depa นำทีม Digital CEO รุ่นที่ 6 ศึกษาการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล จากหน่วยงานชั้นนำระดับโลก ทั้งเมืองอัจฉริยะ Aspern Seestadt และ หอการค้าเศรษฐกิจออสเตรีย เพื่อนำกลับไปประยุกต์ใช้กับองค์กร รวมถึงการพัฒนาประเทศ อาทิ

12273_resize
     กรณีศึกษาเมืองอัจฉริยะ Aspern Seestadt ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกับการจัดการทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดการใช้พลังงาน เช่น การใช้พลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์โดยใช้แผงโซลาร์เซลล์ การใช้พลังงานลม และพลังงานไฟฟ้าจากขยะชีวมวล รวมถึงการจัดการพื้นที่ระบบคมนาคม ด้วยแนวคิด Transit-Orientated Development หรือการพัฒนาพื้นที่ด้วยระบบคมนาคม และ เช่น จัดสรรพื้นที่เชิงพาณิชย์ และการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในบริเวณโดยรอบ อีกทั้งยังเป็นเมืองที่มีรถไฟฟ้าเชื่อมต่อไปยังกรุงเวียนนา

12274
     และร่วมแลกเปลี่ยนยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศออสเตรีย ณ หอการค้าเศรษฐกิจออสเตรีย นำโดย Mag. Mariana Kühnel, M.A. – Deputy Secretary General, Innovation, European Union and Foreign Trade, AUSTRIAN FEDERAL ECONOMIC CHAMBER, Mag. Wolfgang Ebner, Chief of Staff of State Secretary for Digitalization, MINISTRY OF FINANCE, Mag. Florian Frauscher, Director General, Economic Affairs, Innovation and International Policy, MINISTRY OF LABOUR & ECONOMY และ Mag. Michael Otter, Chief Executive Officer, ADVANTAGE AUSTRIA ร่วมแบ่งปัน 5 ยุทธศาสตร์หลักในการพัฒนาประเทศ ได้แก่ 1. เศรษฐกิจ-ส่งเสริมให้เกิดการเติบโตของเศรษฐกิจผ่านการจ้างงาน และการสนับสนุนให้เกิด Startup, 2. ภาครัฐ-ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในระบบบริการของภาครัฐ ลดค่าใช้จ่ายให้กับภาคประชาชน, 3. การศึกษา-ส่งเสริมให้เกิดการค้นคว้าและประยุกต์ใช้นวัตกรรมดิจิทัล, 4. สาธารณสุข-ส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตและสุขภาพที่ดี ผ่านแพลตฟอร์ม Digital Healthcare, 5. ความปลอดภัยและโครงสร้างพื้นฐาน-ส่งเสริมให้เกิดความปลอดภัยของข้อมูลและการดำเนินชีวิตของพลเมืองออสเตรีย

ปิดความเห็น บน ดีป้า-หลักสูตรผู้นำส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล รุ่นที่ 6 (Digital CEO6) ศึกษายุทธศาสตร์การส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ณ ประเทศออสเตรีย

มีนาคม 2023
พฤ อา
« ก.พ.   เม.ย. »
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

RELATED SITES