Archive | บทความสุขภาพ

3 นักวิจัย ม.มหิดล-ธรรมศาสตร์ คว้าทุนวิจัยแบรนด์ เฮลธ์ รีเสิร์ช อวอร์ด 2019

3 นักวิจัย ม.มหิดล-ธรรมศาสตร์ คว้าทุนวิจัยแบรนด์ เฮลธ์ รีเสิร์ช อวอร์ด 2019

Posted on 12 ธันวาคม 2019 by writer

3 นักวิจัย ม.มหิดล-ธรรมศาสตร์ คว้าทุนวิจัยแบรนด์ เฮลธ์ รีเสิร์ช อวอร์ด 2019

ทุนวิจัยเพื่อนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทยให้มีสุขภาพที่ดียืนยาว

Scoop_BHR2019_1

            เมื่อเร็วๆ นี้ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ชมรมโภชนวิทยามหิดล วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก สมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย  วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต  คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต  และมูลนิธิแบรนด์เฮลธ์เพื่อการวิจัยสุขภาพของคนไทย จึงได้จัดงานประชุมวิชาการด้านโภชนาการ “แบรนด์ เฮลธ์ คอนเฟอร์เรนซ์ 2019” เรื่อง “อาหารและโภชนาการเพื่อเสริมสุขภาพสมอง” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านการใช้อาหารและโภชนาการในการดูแลสุขภาพสมอง รวมถึงเผยแพร่งานวิจัยและนวัตกรรมใหม่ๆที่น่าสนใจ เพื่อส่งเสริมสุขภาพสมองและคุณภาพชีวิต ให้แก่บุคลากรทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ โดยมีแพทย์ เภสัชกร นักโภชนาการ พยาบาล นักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการทั่วไปเข้าร่วมประชุมกว่า 900 คน ณ ห้องสยามมกุฎราชกุมาร อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี

ภายในงานยังมีการมอบรางวัลทุนวิจัยแบรนด์ เฮลธ์ รีเสิร์ช อวอร์ด 2019 ขึ้น เพื่อสนับสนุนการค้นคว้าวิจัยและการค้นคว้าองค์ความรู้ใหม่ๆ ด้านสุขภาพ อันจะเกิดประโยชน์กับคนไทย อีกทั้งยังเป็นการยกระดับความสามารถในการแข่งขันทางวิชาการของนักวิจัยไทยไปสู่ระดับโลก โดยได้รับกรุณาธิคุณจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ทรงโปรดให้ หม่อมราชวงศ์สมลาภ  กิติยากร  เป็นผู้แทนพระองค์เป็นประธานเปิดงานและมอบทุนวิจัยในครั้งนี้ โดยมี ศ.เกียรติคุณ นพ.จอมจักร จันทรสกุล ประธานคณะกรรมการพิจารณาทุนวิจัยฯ ให้การต้อนรับ

ทุนวิจัยแบรนด์ เฮลธ์ รีเสิร์ช อวอร์ด 2019 เป็นทุนวิจัยต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2544 โดยทุนดังกล่าวไม่มีข้อผูกพันใดๆทั้งสิ้น ซึ่งที่ผ่านมามีนักวิจัยได้รับทุนจากโครงการไปแล้วกว่า  60  ผลงาน โดยในปีนี้มีผลงานที่ได้รับทุนจำนวน 3 ราย ได้แก่

Scoop_BHR2019_61.ศ.ดร.ทพญ.วิภาวี นิตยานันทะ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำเสนอโครงงานวิจัยเรื่อง“การพัฒนาผลิตภัณฑ์เจลผสมสารสกัดธรรมชาติที่มีฤทธิ์ยับยั้งมะเร็งช่องปาก” (Development of gel containing plant-derived compounds with anti-oral cancer activity) เนื่องจากมะเร็งช่องปากมีสาเหตุการเกิดสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การเคี้ยวหมาก สูบบุหรี่ และดื่มสุรา รวมทั้งการติดเชื้อไวรัสฮิวแมนปาปิลโลมา ชนิดที่ 16 (HPV-16) ซึ่งจากการศึกษาพบว่า สารสกัดจากเปลือกมังคุด และสารสกัดเปลือกทับทิมมีคุณสมบัติยับยั้งการติดเชื้อไวรัส โดยไม่เป็นพิษต่อเซลล์เยื่อบุผิวช่องปาก ดังนั้นผู้วิจัยจึงต้องการนำคุณสมบัติดังกล่าวมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เจล  ที่อาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งช่องปากในประชากรที่สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า เคี้ยวหมาก และผู้มีพฤติกรมเสี่ยงทางเพศต่อการติดเชื้อ HPV-16 ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสก่อมะเร็ง นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลผลิตทางการเกษตรอีกด้วย

Scoop_BHR2019_52.รศ.ดร.ดวงดาว ฉันทศาสตร์ ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำเสนอโครงงานวิจัยเรื่องไอออนโทโฟเรซิสสำหรับนำส่งยาพรามิเพกซอลผ่านผิวหนังเพื่อรักษาโรคพาร์กินสัน (Iontophoresis of pramipexole transdermal delivery for the treatment of Parkinson’s disease) โรคพาร์กินสันจัดเป็นโรคความเสื่อมของระบบประสาทที่พบได้มากเป็นอันดับสองรองจากโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ซึ่งพบมากในผู้สูงวัยอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เกิดจากเซลล์สมองในซับสแตนเชียไนกราบางส่วนตาย หรือลดจำนวนลง ทำให้สารสื่อประสาทชื่อว่า “โดพามีน” ที่ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างการลดลง ทำให้เกิดอาการเคลื่อนไหวช้า สั่น เกร็ง และสูญเสียการทรงตัว  รวมทั้งอาจจะมีความแปรปรวนของการนอนหลับ อารมณ์ พฤติกรรม และความจำเสื่อมร่วมด้วย ทำให้ประสิทธิภาพการทำงาน คุณภาพชีวิต และอายุขัยลดลง ดังนั้นการศึกษานี้จึงมุ่งศึกษาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับนำส่งยาพรามิเพกซอลไดโฮไดรคลอไรด์ผ่านผิวหนังด้วยระบบไออนโทโฟเรซิส ได้แก่ pH และความเข้มข้นของสารละลายยา ความแรง และรูปแบบของกระแสไฟฟ้า เพื่อนำไปใช้เป็นวิธีทางเลือกในอนาคตในการรักษาผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่มีปัญหาการกลืนยายาก

Scoop_BHR2019_4

3.ผศ.ดร.พรรัศมิ์ จินตฤทธิ์ ภาควิชาโภชนศาสตร์เขตร้อน และวิทยาศาสตร์อาหาร คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ทำการศึกษาเรื่อง “การศึกษากรดไขมันชนิดสายสั้นที่เกิดขึ้นในกระบวนการหมักกากถั่วเหลืองในอาหาร “ถั่วเน่า” โดยใช้ไมโครไบโอมตามธรรมชาติเพื่อประโยชน์ทางสุขภาพและโภชนาการต่อกระบวนการเมตาบอลิซึมของคน” (Studying short chain fatty acid occurring in fermenting process soybean meal in food “Thua-nao” from natural microbiome for usefulness in health and nutrition and their impact on human metabolism) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาและแยกชนิดแบคทีเรียที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในถั่วเน่า ตลอดจนประโยชน์ในการผลิตสาร Metabolite กรดไขมันสายสั้นที่มีฤทธิ์ต้านสารอักเสบ ยับยั้งการออกฤทธิ์และควบคุมการแสดงออกของเอนไซม์ Histone deacetylase (HDAC) กระตุ้นการแสดงออกของยีนจำเพาะที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการแก่ และการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยที่ผ่านมายังไม่มีการศึกษาอย่างเป็นระบบถึงจุลินทรีย์ในถั่วเน่า นำมาซึ่งความเข้าใจและสามารถพัฒนาถั่วเน่าให้เป็นอาหารเสริมสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุหรือกลุ่มคนโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง นอกจากนี้ยังสามารถนำไมโครไบโอมในถั่วเน่าไปใช้เป็นหัวเชื้อในทางอุตสาหกรรมอาหารและยาต่อไป

Scoop_BHR2019_7

     การคิดค้นวิจัยองค์ความรู้ใหม่ๆ ด้านการดูแลและส่งเสริมสุขภาพ นับตัวแปรที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต ดังนั้น 3 งานวิจัยข้างต้นนี้จะมีประโยชน์ช่วยเปิดทางการรักษาโรคและดูแลสุขภาพด้วยวิธีใหม่ๆ รวมไปถึงจะเป็นอีกแรกผลักดันและยกระดับการสาธารณสุขไทย เพื่อช่วยตอบโจทย์ปัญหาด้านโภชนาการและสาธารณสุขของไทยอีกทางหนึ่ง

Scoop_BHR2019_4-1 Scoop_BHR2019_5-1

Scoop_BHR2019_3

Scoop_BHR2019_2

ปิดความเห็น บน 3 นักวิจัย ม.มหิดล-ธรรมศาสตร์ คว้าทุนวิจัยแบรนด์ เฮลธ์ รีเสิร์ช อวอร์ด 2019

เทรนด์ใหม่ อาหารและสมุนไพรเสริมสุขภาพสมองและร่างกายให้ดียืนยาว อย่างมีสุข

เทรนด์ใหม่ อาหารและสมุนไพรเสริมสุขภาพสมองและร่างกายให้ดียืนยาว อย่างมีสุข

Posted on 25 ตุลาคม 2019 by writer

เทรนด์ใหม่ อาหารและสมุนไพรเสริมสุขภาพสมองและร่างกายให้ดียืนยาว อย่างมีสุข

BEC academic scoop Asian family (Thumbnail)

เมื่อเร็วๆ นี้ วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก จัดงานประชุมวิชาการ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ เพื่ออัพเดทองค์ความรู้ และงานวิจัยใหม่ๆตลอดจนยกระดับมาตรฐานวิชาชีพพยาบาลให้สูงขึ้น โดยได้รีบเกียรติจากแพทย์และนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิระดับแถวหน้าของเมืองไทยร่วมบรรยายถึงเทรนด์สุขภาพโลกยุคดิจิตอล ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ กว่า 400 คน ณ ห้องประชุมกองการศึกษา ชั้น 7 วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก

BEC academic scoop Asian family_2

BEC academic scoop Asian family_2.1

           ภายในงาน ภก.รศ.ดร.สุรพจน์ วงศ์ใหญ่ ผู้เชี่ยวชาญสมุนไพรของสหประชาชาติ คณบดีผู้ก่อตั้งวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิตร่วมบรรยายในหัวข้อ “แนวทางการใช้สมุนไพรและอาหารฟังก์ชั่นเพื่อส่งเสริมสุขภาพสมอง” กล่าวว่า แนวโน้มระบบสุขภาพของโลก เน้นการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคมากกว่าการรักษาโรครวมทั้งมุ่งเน้นการมีสุขภาพที่ดียืนยาวอย่างมีสุข มากกว่าการแค่มีอายุยืนยาว โดยแนวทางการส่งเสริมให้มีสุขภาพที่ดียืนยาว เริ่มมาจากการรับประทานอาหารที่เหมาะสม ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่สำคัญในการช่วยชะลอความเสื่อมของสมอง และร่างกาย นอกจากนี้การส่งเสริมสุขภาพด้วยอาหารฟังก์ชั่นและสมุนไพร เช่น สารสกัดจากใบแป๊ะก๊วย ขมิ้นชัน และ น้ำมันจมูกข้าว เป็นต้น ก็เป็นอีกทางเลือกที่คนทั่วโลกให้ความสนใจเป็นอย่างมาก

หนึ่งในอาหารฟังก์ชันที่มีประวัติการบริโภคในแถบเอเชียมาอย่างยาวนานคือ ซุปไก่สกัด ซึ่งพร้อมให้ร่างกายดูดซึมไปใช้ได้เร็ว เนื่องจากเป็นโปรตีนที่ผ่านการย่อยให้ได้กรดอะมิโน และไดเปปไทด์ที่จำเพาะ ได้แก่ คาร์โนซีน และแอนเซอรีน ที่มีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยปกป้องเซลล์ประสาท โดยผลการวิจัยทางคลินิกของ ศ.นพ.โคกะ โยชิฮิโกะ จากภาควิชาประสาทวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเคียวริน ประเทศญี่ปุ่นเกี่ยวกับเปปไทด์ในซุปไก่สกัด ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมอง ซึ่งศึกษาในกลุ่มคนที่ดื่มซุปไก่สกัดทุกวันติดต่อกันเป็นระยะเวลา 7 วัน และตรวจวัดผลด้วยเทคโนโลยี Near-Infrared Spectroscopy (NIRS) พบว่า ซุปไก่สกัดช่วยให้เลือดนำออกซิเจนไปเลี้ยงสมองส่วนหน้า ซึ่งเกี่ยวข้องกับความจำ การคิด ตัดสินใจได้ดีขึ้น จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของสมอง

BEC academic scoop Asian family_3

              นอกจากอาหารฟังก์ชั่นแล้ว ยังมีสมุนไพรที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพสมอง อาทิเช่น ขมิ้นชันที่มีสารเคอร์คิวมินอยส์ สารสำคัญที่เป็นแอนตี้ออกซิแดนซ์ ช่วยลดการอักเสบในร่างกาย ช่วยชะลอความเสื่อม ป้องกันตับ น้ำมันจมูกข้าวที่มี โทโคไทรอีนอล, เบต้าแคโรทีน, และไวตามินอี เป็นต้น ที่ช่วยปกป้องเซลประสาทโดยมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระซึ่งอนุมูลอิสระเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดความเสื่อมของเซลล์ นอกจากนี้ยังประกอบด้วยสารแกมมาโอไรซานอลที่ช่วยลดระดับคลอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ทำให้อวัยวะต่างๆ มีเลือดไปเลี้ยงมากขึ้น และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย

ในปัจจุบันนี้มีอาหารฟังก์ชั่นและสมุนไพรมากมาย ที่มีงานวิจัยว่าช่วยส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค การค้นพบนี้เปรียบเหมือนเป็นกุญแจสำคัญไปสู่ทางเลือกใหม่เพื่อการมีสุขภาพที่ดียืนยาวอย่างมีสุขและเป็นเทรนด์ใหม่ของการชะลอวัยในโลกยุคปัจจุบัน

BEC academic scoop Asian family_4

ปิดความเห็น บน เทรนด์ใหม่ อาหารและสมุนไพรเสริมสุขภาพสมองและร่างกายให้ดียืนยาว อย่างมีสุข

จักษุแพทย์ เตือนแสงสีฟ้าจากจอและแสงแดด ตัวการร้ายทำลายจอประสาทตา

จักษุแพทย์ เตือนแสงสีฟ้าจากจอและแสงแดด ตัวการร้ายทำลายจอประสาทตา

Posted on 07 สิงหาคม 2019 by writer

จักษุแพทย์ เตือนแสงสีฟ้าจากจอและแสงแดด ตัวการร้ายทำลายจอประสาทตา

Scoop_Gen U Lutina_04-800

            ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงทางสังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และเทคโนโลยี ทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนได้เปลี่ยนแปลงไปส่งผลกระทบต่อสุขภาวะของประชาชน ด้วยสาเหตุดังกล่าวข้างต้น เมื่อเร็วๆ นี้ สมาคมพยาบาลกองทัพบก ร่วมกับวิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก และกองการพยาบาลโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า จัดงานประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2562 ในโอกาสครบรอบ 56 ปี วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก ในหัวข้อ “ทิศทาง ประเด็น และแนวโน้มวิจัยนวัตกรรมทางการพยาบาลเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ” โดยมีแพทย์ และนักวิจัยร่วมบรรยายให้ความรู้กับพยาบาลที่เข้าร่วมงานประชุมกว่า 600 คน ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา ชั้น 10 โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

Scoop_Gen U Lutina_02-800

            นพ.ธีรวีร์ หงส์หยก อาจารย์จักษุแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องกระจกตา และการผ่าตัดแก้ไขสายตา โรงพยาบาลราชวิถี และวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต บรรยายในหัวข้อ “การดูแลสุขภาพดวงตา…วัยทำงานยุคดิจิทัล”  เปิดเผยว่า ในประเทศไทยสามารถพบอุบัติการณ์โรคทางดวงตา และอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับดวงตาเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากพฤติกรรมของคนในการใช้สายตาเปลี่ยนไป รวมทั้งการละเลยการดูแลดวงตาต่อเนื่องเป็นเวลานาน

Scoop_Lutina_05-800

นอกจากนี้ยังพบว่า กลุ่มคนทำงานเป็นกลุ่มคนที่เกิดอาการผิดปกติกับดวงตามากที่สุด เพราะเป็นกลุ่มคนที่ใช้เวลาหลายชั่วโมงในแต่ละวันไปกับการจ้องจอไม่ว่าจะเป็นจอคอมพิวเตอร์ มือถือ แทบเล็ต และ Gadgets ต่างๆ ซึ่งพบมากถึงร้อยละ 70 ของผู้ที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน และพบได้มากขึ้นในคนที่อายุมากกว่า 40 ปี ทำให้เกิด Computer Vision Syndrome เกิดอาการผิดปกติ เช่น อาการล้าตา ตาแห้ง แสบตา แพ้แสงสู้แสงไม่ได้ ปวดศีรษะ ปวดคอ บ่า ไหล่ ร่วมด้วย

นอกจากนี้ แสงสีฟ้า (Blue Light) ซึ่งเป็นคลื่นแสงที่มีพลังงานสูงจากจอคอมพิวเตอร์ มือถือ แทบเล็ต Gadgets ต่างๆและรังสียูวีจากแสงแดดที่เข้าสู่ดวงตา ทำให้เกิดอนุมูลอิสระในเซลล์จอประสาทตา ทำให้เซลล์ค่อยๆ เสื่อมลง หากไม่ดูแลและปรับพฤติกรรมการใช้สายตา จะทำให้เป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมในที่สุด

Scoop_Gen U Lutina_03-800

            ผศ.ดร.เอกราช บำรุงพืชน์ ภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บรรยายในหัวข้อ “อาหารและโภชนาการสร้างเสริมสุขภาพดวงตา”  ว่า ปัจจุบันคนไทยติดสมาร์ทโฟน มากขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก จากการสำรวจพบว่าคนไทยมากถึงร้อยละ 98  ใช้เวลาตั้งแต่ตื่นนอนถึงก่อนเข้านอน ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมเพิ่มขึ้น ดังนั้นนอกจากเราต้องปรับพฤติกรรมการใช้ดวงตาอยู่หน้าจอแล้ว เราต้องรับประทานสารอาหารที่ช่วยดูแลดวงตาให้มีสุขภาพดี และลดความเสี่ยงในการเกิดโรครวมทั้งอาการผิดปกติกับดวงตา

ข้อแนะนำของ National Eye Institute สหรัฐอเมริกา ระบุว่า การรับประทาน ลูทีน 10 มิลลิกรัม ร่วมกับซีแซนทีน 2 มิลลิกรัม ซึ่งเป็นปริมาณที่เหมาะสมและปลอดภัย จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมได้ เพราะช่วยทำหน้าที่กรองแสง ตลอดจนรังสีต่างๆ รวมทั้งแสงสีฟ้าที่ออกมาจากจออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งกับคนที่ทำงานโดยการใช้สายตาจ้องจอนานๆ หรือทำงานในที่ที่มีแสงจ้า ซึ่งร่างกายของเราไม่สามารถสร้างลูทีนและซีแซนทีนได้เอง จำเป็นต้องได้รับจากอาหารที่เรารับประทานเท่านั้น และเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นลูทีนและซีแซนทีนในจอประสาทตาจะมีปริมาณลดลงเรื่อยๆ โดยลูทีนพบมากในหน่อไม้ฝรั่ง และ บล็อกโครี่ ส่วนซีแซนทีนพบมากในพริกหวานสีส้ม ข้าวโพด น้ำส้ม และองุ่นเขียว แต่เราต้องรับประทานผักและผลไม้เหล่านี้จำนวนมากเพื่อให้ได้รับลูทีนและซีแซนทีนที่ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม โดยลูทีน 10 มิลลิกรัม ต้องรับประทานหน่อไม้ฝรั่ง 1.1 กิโลกรัม หรือ บล็อกโครี่ 1.4 กิโลกรัม  และ ซีแซนทีน 2 มิลลิกรัม ต้องรับประทานพริกหวานสีส้ม 125 กรัม ข้าวโพด 400 กรัม น้ำส้ม 10 ลิตร หรือ องุ่นเขียว 33 กิโลกรัม  ปัจจุบันอาหารเสริมจึงเป็นทางเลือกใหม่ที่ได้รับความนิยม เพื่อให้ได้สาระสำคัญในปริมาณที่มีประสิทธิผลตามการศึกษาวิจัย และสะดวกกับคนทำงานที่ใช้ชีวิตรีบเร่งในแต่ละวัน

Scoop_Gen U Lutina_01-800

          นอกจากนี้ยังมีสารอาหารอื่นๆ ที่ช่วยดูแลสุขภาพดวงตา เช่น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี เบต้าแคโรทีน ดีเอชเอ และแอนโธไซยานิน เป็นต้น ที่ช่วยในการมองเห็น เพิ่มความชุ่มชื้นของตา ปกป้องสายตาจากแสงแดด และชะลอความเสื่อมของเลนส์ตา

นอกจากการรับประทานสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อดวงตาแล้ว ควรปรับพฤติกรรมการใช้ดวงตาอยู่หน้าจอ โดยใช้กฎ 20-20-20 คือทุก 20 นาทีควรละสายตาจากจอคอมพิวเตอร์หรือมือถือ ผ่อนคลายสายตาด้วยการมองวัตถุอื่นๆ ที่ห่างออกไปประมาณ 20 ฟุต กระพริบตาต่อเนื่องเพื่อป้องกันอาการตาแห้ง รวมทั้งลุกขึ้นเดินไปรอบๆ บริเวณที่นั่งอยู่ประมาณ 20 ก้าว เพื่อสุขภาพดวงตาที่ดีและยืดอายุดวงตาให้เสื่อมช้าลง ดังนั้นเริ่มดูแลดวงตาตั้งแต่วันนี้ เพราะ เรามีดวงตาเพียงคู่เดียวที่ต้องอยู่คู่เราไปตลอดชีวิต

ปิดความเห็น บน จักษุแพทย์ เตือนแสงสีฟ้าจากจอและแสงแดด ตัวการร้ายทำลายจอประสาทตา

โรคปอดบวม” ปัญหาสุขภาพหลักของเด็กทั่วโลก

โรคปอดบวม” ปัญหาสุขภาพหลักของเด็กทั่วโลก

Posted on 20 ธันวาคม 2011 by admin

แม้ว่ากุมารแพทย์ทั่วโลกจะให้ความสำคัญและหาแนวทางป้องกันโรค ปอดบวมอย่างต่อเนื่องตลอดหลายปีที่ผ่านมา แต่ “โรคปอดบวม” ก็ยังคงเป็นปัญหาสุขภาพหลักของเด็กทั่วโลก โดยจากสถิติขององค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า โรคปอดบวมเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบทั่วโลกกว่าปีละ 2 ล้านคน ติดต่อกันมายาวนาน หรืออาจพูดได้ว่าทุกๆ 20 วินาที จะมีเด็กเล็กเสียชีวิตด้วยโรคปอดบวม 1 คน ซึ่งร้อยละ 98 หรือประมาณ 1,960,000 คน เป็นเด็กเล็กที่อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา Continue Reading

ปิดความเห็น บน โรคปอดบวม” ปัญหาสุขภาพหลักของเด็กทั่วโลก

พฤษภาคม 2024
พฤ อา
« เม.ย.    
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

RELATED SITES