Archive | สิงหาคม, 2020

เชิญชมเสวนา “’The Ways New Zealand Sets Forward Its Educational Structure to Pass Through the Pandemic Crisis” 3 ก.ย. 63 เวลา 13.00 – 13.30 น.

เชิญชมเสวนา “’The Ways New Zealand Sets Forward Its Educational Structure to Pass Through the Pandemic Crisis” 3 ก.ย. 63 เวลา 13.00 – 13.30 น.

Posted on 31 สิงหาคม 2020 by writer

JL's Session Ad_resize

          นายจอห์น แลกซัน (John Laxon) ผู้อำนวยการ ประจำภูมิภาคเอเชีย หน่วยงานการศึกษานิวซีแลนด์ ได้รับเชิญเป็นวิทยากรร่วมเสวนา “The Ways New Zealand Sets Forward Its Educational Structure to Pass Through the Pandemic Crisis” ซึ่งเป็น Virtual Event Seminar ภายในงาน Startup Thailand and Innovation Expo 2020 จัดภายใต้แนวคิด “Innovation in Times of Crisis : นวัตกรรมรับมือภาวะวิกฤต” งานยิ่งใหญ่ระดับประเทศด้านสตาร์ทอัพและนวัตกรรมในรูปแบบ Virtual Events นวัตกรรมรูปแบบเสมือนจริงครั้งแรกของประเทศ เปิดให้ผู้เข้าร่วมงานผ่านทางออนไลน์ ในวันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน2563 นี้ เวลา13.00-13.30น. ได้ที่ https://stxite2020.nia.or.th/

DSC_1590_resize_resize

ปิดความเห็น บน เชิญชมเสวนา “’The Ways New Zealand Sets Forward Its Educational Structure to Pass Through the Pandemic Crisis” 3 ก.ย. 63 เวลา 13.00 – 13.30 น.

“ดีป้า” ปฐมนิเทศ หลักสูตรผู้นำการส่งเสริมดิจิทัลด้านธุรกิจเกษตร รุ่น 2

“ดีป้า” ปฐมนิเทศ หลักสูตรผู้นำการส่งเสริมดิจิทัลด้านธุรกิจเกษตร รุ่น 2

Posted on 25 สิงหาคม 2020 by writer

          นายฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมปฐมนิเทศและกิจกรรมหลักสูตรผู้นำการส่งเสริมดิจิทัลด้านธุรกิจเกษตร  รุ่น 2 โดยมีอาทิ มรว.จัตุมงคล โสณกุล นายสมศักดิ์ จังตระกูล พันเอก ดร.นที ศุกลรัตน์  นายสวาท ธีระรัตนนุกูลชัย  นายเสกสรรค์ จันทร์ขวาง นายกิติกร ลิมปนพงศ์เทพ  นายชวิศ ยงเห็นเจริญ นายณัฐสรณ์  ดําเนินชาญวนิชย์  นายสมัย ลี้สกุล  นางสาวอรวรรณ ติลกเรืองชัย  นายนราพัฒน์ แก้วทอง  นายเกรียงไกร วัฒนาสว่าง นางสาวศลิษา หาญพานิช  นายอาณัติ กลิ่นส่ง นางทัศนีย์ ทองมี  เป็นต้น ร่วมด้วย  ณ รร.เดอะไทด์ รีสอร์ท บางแสน ชลบุรี เมื่อเร็วๆนี้

          พร้อมกันนี้ ยังได้มาศึกษาดูงานที่โรงงานผลิตยารังสิต1 ขององค์การเภสัชกรรม บริษัท เด็นโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด  และ Smart Farm ที่ Res Q Farm  ด้วย  ล้วนเป็นนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลอันทันสมัยและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในองค์กรตัวเอง  ซึ่งคณะผู้บริหารต่างให้ความสนใจเป็นอย่างมาก

ปิดความเห็น บน “ดีป้า” ปฐมนิเทศ หลักสูตรผู้นำการส่งเสริมดิจิทัลด้านธุรกิจเกษตร รุ่น 2

ผลสำรวจ Navitas Insights ชี้ “นิวซีแลนด์ ครองใจอันดับหนึ่ง” นักเรียนต่างชาติ  บทพิสูจน์มาตรการรองรับนักเรียนต่างชาติในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

ผลสำรวจ Navitas Insights ชี้ “นิวซีแลนด์ ครองใจอันดับหนึ่ง” นักเรียนต่างชาติ บทพิสูจน์มาตรการรองรับนักเรียนต่างชาติในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

Posted on 24 สิงหาคม 2020 by writer

         Navitas Insights ผู้ให้บริการด้านการศึกษาชั้นนำของโลก เจาะลึกวงการศึกษาจากทั่วโลก เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของตัวแทนการศึกษาจากนานาชาติ เกี่ยวกับบทเรียนที่ได้รับจากมาตรการในการรองรับนักเรียนต่างชาติในช่วงที่มีการล็อคดาวน์และการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ผลการสำรวจ พบว่า นิวซีแลนด์เป็นประเทศเป้าหมายอันดับหนึ่งที่นักศึกษาต่างชาติต้องการไปศึกษาต่อมากที่สุด นำหน้าผู้นำด้านการศึกษาอย่างประเทศออสเตรเลีย แคนาดา สิงคโปร์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา

         รายงานข่าวจากหน่วยงานการศึกษานิวซีแลนด์ ระบุว่า จากผลการสำรวจเมื่อเร็วๆนี้ โดย Navitas Insights องค์กรผู้ให้บริการและเจาะลึกข้อมูลด้านการศึกษาชั้นนำระดับโลก  ซึ่งมีเครือข่ายอยู่ทั่วโลก ได้ทำการสำรวจกับตัวแทนการศึกษาเกือบ 400 บริษัท จาก 63 ประเทศ ในความคิดเห็นเกี่ยวกับ “มาตรการที่รัฐบาลของประเทศนี้ ใช้จัดการกับไวรัสโคโรน่า ลดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จนได้รับความเชื่อใจและทำให้กลายเป็นจุดหมายปลายทางการศึกษาที่น่าดึงดูดใจ” โดยได้ทำการสำรวจในช่วงเดือนพฤษภาคม 2020

         ผลการสำรวจ พบว่า ประเทศนิวซีแลนด์เป็นจุดหมายปลายทางของการศึกษาต่อระหว่างประเทศที่เป็นที่ต้องการมากที่สุดสำหรับนักศึกษาต่างชาติ ซึ่งผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่า ประเทศนิวซีแลนด์มีการจัดการโรคระบาดที่ดีของรัฐบาลประเทศนิวซีแลนด์ ทำให้นิวซีแลนด์เป็นประเทศจุดหมายปลายทางของการศึกษาต่อต่างประเทศที่น่าดึงดูดใจมากที่สุดสำหรับนักศึกษาต่างชาติในโลกปัจจุบัน ซึ่งนำหน้าประเทศออสเตรเลีย แคนาดา สิงคโปร์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา

         จากการสำรวจยังถามผู้ตอบแบบสอบถามว่าขอบเขตที่พวกเขาเห็นด้วยกับคำแถลงต่อไปนี้:“ ในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา พบว่า ประเทศนิวซีแลนด์มีชื่อเสียงในด้านความปลอดภัยและพร้อมต้อนรับนักศึกษาต่างชาติมีการตอบรับที่ดีขึ้นอีกด้วย โดยพบว่า ประเทศนิวซีแลนด์มีมาตรการจัดการได้ดีกว่าประเทศออสเตรเลีย แคนาดา สิงคโปร์ สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาในด้านนี้เช่นเดียวกัน

         ตัวแทนของ Navitas ได้ช่วยให้นักศึกษาทั่วโลกสมัครเข้าเรียนในเครือข่ายมหาวิทยาลัย และเขตวิทยาลัยทั่วทั้งประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แคนาดา สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริการวมถึงสิงคโปร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ศรีลังกา และเนเธอร์แลนด์

         Chris Hipkins รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของนิวซีแลนด์กล่าวว่า “นักศึกษาต่างชาติมีความสำคัญต่อประเทศนิวซีแลนด์ในขณะเดียวกันพวกเรากำลังฟื้นและเริ่มต้นใหม่จาก COVID-19 และทางรัฐบาลจะอนุญาตให้นักศึกษาต่างชาติกลับมาศึกษาต่อ เมื่อทุกอย่างปลอดภัยแล้ว โดยประเทศของเรายังคงพยายามให้นักศึกษาเข้าประเทศอย่างปลอดภัยโดยเร็วที่สุด พวกเรายังให้การสนับสนุนแก่นักศึกษาต่างชาติที่ประสบปัญหาด้านการเงินและปัญหาการทำงานอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนักศึกษาที่ไม่ได้กลับบ้านในช่วงสิ้นปี หากพรมแดนของนิวซีแลนด์ยังคงปิดอยู่

         ทั้งนี้ มีรายงานว่า โรงเรียนต่าง ๆ ในประเทศนิวซีแลนด์กำลังพัฒนาโปรแกรมและวางแผนบริการดูแลนักศึกษาต่างชาติที่ตัดสินใจเรียนและอยู่ต่อที่นิวซีแลนด์ในสิ้นปีนี้ โดยบางโรงเรียนกำลังพิจารณาส่วนลดค่าใช้จ่ายของโรงเรียนภาคฤดูร้อนสำหรับนักศึกษาต่างชาติ เช่น การจ่ายเงินค่าธรรมเนียมเทียบเท่านักศึกษาในประเทศสำหรับหลักสูตรภาคฤดูร้อน

         สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการศึกษานิวซีแลนด์ ดูได้ที่ www.studyinnewzealand.govt.nz

ปิดความเห็น บน ผลสำรวจ Navitas Insights ชี้ “นิวซีแลนด์ ครองใจอันดับหนึ่ง” นักเรียนต่างชาติ บทพิสูจน์มาตรการรองรับนักเรียนต่างชาติในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

“ชลิต อินดัสทรี รักษ์น้ำ ปลูกป่า” สานต่อโครงการพระราชดำริฯนำทีมจิตสาธารณะปลูกป่าชายเลนบางขุนเทียน ร่วมอนุรักษ์และพัฒนาป่าชายเลนทะเลกรุงเทพฯ

“ชลิต อินดัสทรี รักษ์น้ำ ปลูกป่า” สานต่อโครงการพระราชดำริฯนำทีมจิตสาธารณะปลูกป่าชายเลนบางขุนเทียน ร่วมอนุรักษ์และพัฒนาป่าชายเลนทะเลกรุงเทพฯ

Posted on 21 สิงหาคม 2020 by writer

          ป่าชายเลนบางขุนเทียน ทะเลกรุงเทพฯ เป็นพื้นที่เดียวที่มีพื้นที่ป่าชายเลนอยู่ติดกับทะเลอ่าวไทย มีแนวชายฝั่งทะเลรวมความยาวกว่า 4.7 กิโลเมตร แต่ปัจจุบันบางขุนเทียนประสบปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะ ทำให้ที่ดินเดิมของชายทะเลกรุงเทพหายไปกว่า 3,000 ไร่ ซึ่งส่งผลต่อระบบนิเวศน์ แหล่งอนุบาลสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ไม่น้อยกว่า 70 ชนิดและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ด้วย

         จากปัญหาดังกล่าว กรุงเทพมหานคร ได้น้อมนำแนวพระราชดำริด้านการอนุรักษ์และพัฒนาป่าชายเลน ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาเป็นแนวทางในการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าชายเลนและป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลในพื้นที่เขตบางขุนเทียน ด้วยการริเริ่มโครงการ “ปลูกป่าในใจคน ตามศาสตร์พระราชา” ตั้งแต่ 2559 ที่ผ่านมากรุงเทพฯได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนในการสนับสนุนโครงการฯ จนถึงปัจจุบันสามารถปลูกต้นโกงกางไปแล้ว 210 ไร่ ใช้ต้นกล้าโกงกาง จำนวน 168,000 ต้น และจะส่งเสริมให้มีการปลูกอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งเป้าหมายปลูกให้ได้ 3,000 ไร่

          เพื่อร่วมสืบสานพระราชดำริ โครงการ “ชลิต อินดัสทรี รักษ์น้ำ ปลูกป่า โดย บริษัท ชลิต อินดัสทรี จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายชิ้นส่วนประกอบรถยนต์และอะไหล่ยาง ภายใต้แบรนด์ “POP” ได้ตระหนักดีถึงความสำคัญในการพัฒนาชุมชนและตอบแทนสังคม โดยร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนกิจกรรมงานสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศที่เกิดจากปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะแนวชายฝั่งทะเลกรุงเทพ ในเขตบางขุนเทียน

           โดยเมื่อเร็วๆนี้ นายมานะชัย  กฤตอำไพ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ร่วมกับ นายชวิศ ยงเห็นเจริญ กรรมการผู้จัดการ พร้อมด้วย นางสาววิมลลักษณ์ ยงเห็นเจริญ กรรมการและผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและกิจกรรมเพื่อสังคม  นางสาวชัญญา ยงเห็นเจริญ กรรมการ บริษัท ชลิต อินดัสทรี จำกัด นำทีมพนักงาน ร่วมกิจกรรมปลูกป่าชายเลน โครงการ ชลิต อินดัสทรี รักษ์น้ำ ปลูกป่าเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นจิตอาสา  ร่วมแรง ร่วมใจปลูกป่าชายเลนบางขุนเทียนและคืนพื้นที่สีเขียวให้กับทะเลกรุงเทพฯ ตามรอยศาสตร์พระราชา นับเป็นการช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศและสร้างสมดุลให้กับธรรมชาติ โดยได้ความร่วมมือจากจากคณะครู และน้องๆนักเรียนโรงเรียนคลองพิทยากรณ์ โรงเรียนในชุมชน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่เขตบางขุนเทียนร่วมกิจกรรมปลูกป่าฯ ในครั้งนี้ด้วย ณ ป่าชายเลนบางขุนเทียน กรุงเทพฯ

          นางสาววิมลลักษณ์ ยงเห็นเจริญ  กรรมการและผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและกิจกรรมเพื่อสังคม บริษัท ชลิต อินดัสทรี จำกัด กล่าวว่า “โครงการ “ชลิต อินดัสทรี รักษ์น้ำ ปลูกป่า” เป็นอีกหนึ่งโครงการฯ เพื่อสังคมของบริษัทที่สานต่อเจตนารมณ์และนโยบายเพื่อสังคมของบริษัท พวกเราตั้งใจเป็นส่วนหนึ่งในการเสริมสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยเริ่มจากสังคมเล็ก ๆ ของพวกเราร่วมเป็นกิจกรรมจิตสาธารณะ ร่วมแรง ร่วมใจปลูกป่าชายเลนบางขุนเทียนและคืนพื้นที่สีเขียวให้กับทะเลกรุงเทพฯ ตามรอยศาสตร์พระราชา อันเป็นการช่วยสร้างสมดุลให้กับธรรมชาติได้อีกทางหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและฟื้นฟูพื้นที่ป่าชายเลนแห่งนี้ให้กลับมาเป็นทะเลกรุงเทพฯ ที่มีความสมบูรณ์และสวยงามต่อไป…

          ด้าน นายมานะชัย  กฤตอำไพ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า พื้นที่ป่าชายเลนบางขุนเทียนเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีชีวิต โดยจัดให้มีศูนย์การเรียนรู้ป่าชายเลนฯ เพื่อให้นักเรียน-นักศึกษา นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปที่สนใจเข้ามาท่องเที่ยวและศึกษาเรียนรู้ในด้านการอนุรักษ์-พัฒนาป่าชายเลน  ตลอดจนขั้นตอนการดำเนินงานฟื้นฟูระบบนิเวศและการบำรุงรักษาทะเลกรุงเทพให้กลับคืนสู่สภาพเดิมที่มีความสมดุลของระบบนิเวศด้วย ซึ่งเรามีกิจกรรมสนุกๆกับ “ปั่น ไปปลูกป่าชายเลนบางขุนเทียน”  อีกด้วย และขอบคุณโครงการ “ชลิต อินดัสทรี รักษ์น้ำ ปลูกป่า” ที่นำทีมจิตอาสามาร่วมปลูกป่าชายเลนในครั้งนี้”

สำหรับผู้สนใจ ต้องการร่วมสืบสานพระราชดำริฯ  อันดีงามและการมีส่วนร่วมอนุรักษ์และพัฒนาป่าชายเลนทะเลกรุงเทพ สามารถเดินทางมาร่วมกิจกรรมดีๆสนุกๆได้แล้วที่ป่าชายเลนบางขุนเทียนแห่งนี้

ปิดความเห็น บน “ชลิต อินดัสทรี รักษ์น้ำ ปลูกป่า” สานต่อโครงการพระราชดำริฯนำทีมจิตสาธารณะปลูกป่าชายเลนบางขุนเทียน ร่วมอนุรักษ์และพัฒนาป่าชายเลนทะเลกรุงเทพฯ

“แรงบันดาลใจ ปลุกความเป็นเชฟ” เชฟท็อป-กิตติ ดรุกาญจน์พฤฒิ

“แรงบันดาลใจ ปลุกความเป็นเชฟ” เชฟท็อป-กิตติ ดรุกาญจน์พฤฒิ

Posted on 19 สิงหาคม 2020 by writer

          ยุคนี้ใครๆก็อยากทำอาหารรับประทานเองที่บ้าน วันนี้มีเมนูที่เราสามารถทำเองได้ง่ายๆที่บ้านมาฝากคุณสาวๆ  แนะนำเมนูโดย เชฟท็อป-กิตติ ดรุกาญจน์พฤฒิ สุดยอดเชฟนักล่ารางวัลทั้งในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ ปัจจุบันเปิดร้านสเต็ก ชื่อ The Black Sheep” ที่จังหวัดจันทบุรี ควบคู่กับการทำสวนผลไม้ ทุเรียน และมังคุด

          ก่อนที่จะแนะนำเมนู เชฟท็อปได้เล่าถึงจุดเริ่มต้นของการเป็นเชฟว่า ตนเป็นศิษย์เก่านิวซีแลนด์ มีโอกาสได้ไปเรียนที่นิวซีแลนด์ตั้งแต่มัธยม และเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เริ่มอยากทำอาหาร เพราะอยากทานอาหารไทย ก็เลยเริ่มฝึกทำอาหารทานกับเพื่อนคนไทยที่อยู่หอด้วยกัน แต่ก็ไม่ได้คิดว่าวันหนึ่งจะเป็นเชฟ จนกระทั่งเรียนจบปริญญาตรี (BSc in Microbiology จาก University of Otago) ระหว่างหางานทำ ได้ไปทำงานเป็นผู้ช่วยเชฟในร้านอาหารตุรกีในเมือง Dunedin ก็รู้สึกชอบเพราะเชฟที่ร้านได้สอนให้ทำหลายอย่าง เช่น การทำซอส การหมักเนื้อสัตว์ ซึ่งก็เป็นอะไรที่แปลกใหม่ เพราะเราไม่เคยสัมผัสอาหารตุรกีมาก่อน จากนั้นได้ย้ายมาทำที่ร้านอาหารไทยที่เมือง Wellington ทำให้รู้สึกชอบในการทำอาหารมากยิ่งขึ้น เลยตัดสินใจเรียนต่อด้านอาหารที่ Wellington Institute of Technology

          หลักสูตรที่เรียนคือ Certificate and Diploma in Culinary Arts เป็นหลักสูตร 1 ปี การเรียนการสอนจะปูพื้นฐานด้านทฤษฏีก่อนและจะเน้นการปฏิบัติเยอะมาก ซึ่งมีอุปกรณ์ที่ครบครันและทันสมัย แต่ละห้องมีนักเรียนไม่มากแค่ 20 กว่าคน ทำให้อาจารย์ดูแลได้ทั่วถึง สอนเทคนิคต่างๆได้เป็นอย่างดี อาจารย์แต่ละท่านก็เป็นเชฟในโรงแรมและร้านอาหารมาก่อน จึงสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ได้ดี นักเรียนได้ไปฝึกงานตามร้านอาหารหรือโรงแรมถึง 2 ครั้ง และยังได้ฝึกทำงานจริงในครัวของร้านอาหารของสถาบันอีกด้วย ซึ่งสนุกมากเมื่อเราและเพื่อนๆในห้อง ได้แบ่งหน้าที่กันและจัดการห้องครัว ทำอาหารให้ลูกค้าจริงๆได้ทาน โดยมีเชฟอาจารย์คอยให้คำแนะนำ ดูแลในครัว เป็นการฝึกให้เราทำงานเป็นทีม เพราะภายใต้แรงกดดันในครัวการทำงานเป็นทีมจะทำให้งานนั้นสำเร็จได้

          “ที่เลือกเรียนทำอาหารเพราะชอบทำอาหาร และอยากทำอาหารที่ดีทีสุดให้ทุกคนได้รับประทาน การเรียนที่นิวซีแลนด์ ส่งผลต่อความสำเร็จเป็นอย่างมาก ไม่เพียงแต่วางพื้นฐานด้านวิชาการแต่ยังให้ประสบการณ์ด้านอื่นๆอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิต การทำงาน และมิตรภาพที่ดีจากอาจารย์และเพื่อนๆ ตอนเรียนมีโอกาสได้ไปฝึกงานกับร้านอาหารดังๆ หลายแห่งที่นิวซีแลนด์ ทำให้เรามีความมั่นใจในการทำอาหารมากขึ้น บวกกับความสามารถด้านการใช้ภาษาที่ดีขึ้น และกำลังใจที่ดีของเพื่อนๆชาวกีวี่และชาวต่างชาติ ทำให้ผมได้พัฒนาทักษะทางด้านภาษาและการทำอาหารได้ดีขึ้นด้วย”

          สำหรับน้องๆที่อยากเป็นเชฟ ก่อนอื่นต้องเริ่มจากการเป็นคนที่ชอบทานอาหารหลากหลายก่อน รู้จักสังเกตแล้วจึงมาฝึกทำทานเอง หรือกับคนในครอบครัว เพื่อนฝูง ต้องอาศัยความชอบจริงๆเพราะ อาชีพเชฟเป็นงานหนักและต้องมีความอดทนสูง เชฟส่วนมากเริ่มมาจากเด็กล้างจาน กว่าจะได้มาเป็นเชฟต้องใช้เวลาสั่งสมประสบการณ์และต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา

          นับถึงวันนี้เชฟท็อป เป็นเชฟมาแล้วเกือบ 10 ปี การันตีด้วยรางวัลมากมาย ทั้งระดับภูมิภาคและระดับประเทศ เช่น Best of Western Cuisine (งาน Thailand International  Culinary Cup 2017) การแข่งขันทำอาหารระดับนานาชาติที่ได้รับโอกาสจากทาง Thailand Culinary Academy  ให้ไปร่วมฝึกซ้อมและแข่งขันที่ประเทศ อินโดนีเซีย ในรายการ Indonesian Salon Culinaire 2017 (เหรียญที่ได้ 1 ทอง, 1 เงิน และ 1 ทองแดง) และรายการใหญ่ระดับเอเชียคือ รายการ Food and Hotel Asia 2018 (FHA) ที่ประเทศสิงคโปร์ ร่วมแข่งประเภททีม ซึ่งทีมไทยได้เหรียญทองในรายการนี้เป็นครั้งแรกตั้งแต่มีการส่งทีมไปแข่งในรายการนี้

สำหรับเมนูที่เชฟท็อปนำมาแนะนำเป็นเมนูที่มีการผสมผสานวัตถุดิบจากนิวซีแลนด์กับเมนูและส่วนประกอบอาหารไทยที่ทุกคนสามารถทำเองได้ พร้อมเคล็ดลับความอร่อย

แกงมัสมั่นเนื้อแกะ NZ Lamb shoulder

วัตถุดิบ

NZ Lamb shoulder       650 กรัม                       มันฝรั่ง                          350 กรัม

หอมแขก (ลูกเล็กๆ)         250 กรัม                       พริกแกงมัสมั่น               100 กรัม

กะทิ                              500 มิลลิลิตร                น้ำตาลปี๊บ                     50-60 กรัม

น้ำมะขามเปียก               2-3 ช้อนโต๊ะ                  ใบเบย์                           2 ใบ

ลูกกระวาน                     5 ลูก                             อบเชย                           1 แท่งเล็ก

ถั่วลิสงคั่ว                      50 กรัม                         น้ำปลา                          2-3 ช้อนโต๊ะ

เกลือ                             ¼ ช้อนชา                      น้ำมันพืช                       2 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

1.หั่นเนื้อแกะและมันฝรั่งเป็นชิ้นพอดีคำ

2.นำเนื้อแกะไปจี่บนกระทะที่ตั้งไฟจนร้อนกับน้ำมันนิดหน่อย จี่ให้เนื้อแกะให้ขึ้นสีโดยรอบและหอม พักไว้

3.ผัดพริกแกงมัสมั่นกับน้ำมันให้หอม เติมเนื้อแกะที่พักไว้ ผัดด้วยไฟกลางจนเข้ากัน

4.เติมกะทิ ให้พอท่วมเนื้อแกะ ใส่เครื่องปรุงทุกอย่างลงไปยกเว้นมันฝรั่ง เครื่องปรุงรส อาจจะใส่น้อยกว่าสูตรก่อน แล้วจึงปรุงเพิ่มตามความชอบ เนื่องจากเนื้อแกะใช้เวลาเคี่ยวให้นุ่มนาน จึงยังไม่ใส่มันฝรั่งลงไป

5.ตั้งไฟให้เดือดแล้วลดไปลงเป็นไปอ่อน เคี่ยวจนเนื้อแกะเริ่มนุ่ม ประมาณ 45-60 นาที

6.ชิมรสชาติแล้วปรุงเพิ่ม ใส่มันฝรั่งลงไปต้มให้สุก ก็จะได้แกงมัสมั่นเนื้อแกะพร้อมทาน

 

เคล็ดลับความอร่อยและการเตรียมวัตถุดิบ

– การนำเนื้อแกะไปจี่ให้ขึ้นสีจะทำให้แกงมีความหอมมากขึ้นกว่าการนำไปแกงเลย

– การเตรียมวัตถุดิบควรเตรียมทุกอย่างให้พร้อมและใกล้มือเพื่อความรวดเร็วในการประกอบอาหาร

– การปรุงควรปรุงให้รสอ่อนก่อน เพราะเราสามารถปรุงเพิ่มได้ ถ้าปรุงรสจัดไปแล้วมันจะแก้ยาก

 

ยำ / สลัด NZ King Salmon ใส่มังคุด

วัตถุดิบ

NZ King salmon                       150 กรัม                       มังคุด (แกะเอาแต่เนื้อ)                5 ลูก

หอมแดง(sliced)                        1 ลูก                             กระเทียม (sliced)                      2-3 กลีบ

พริกขี้หนู(sliced, thinly)              2 เม็ด                            ผักชี                                          2 ต้น

ใบสะระเหน่                               2 ต้น                             ต้นอ่อนกระเจี๊ยบ             30 กรัม

เรดเรดิช                                     1-2 ลูก                          มะนาว                                      1-2 ลูก

น้ำปลา                                      2 ช้อนโต๊ะ                     น้ำเชื่อม                                     2 ช้อนโต๊ะ

Extra virgin olive oil                  2 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

1.ผสมน้ำสลัด / น้ำยำ ไว้ก่อนที่จะจี่ปลาแซลมอนได้ พร้อมเตรียมผักต่างๆน้ำยำจะใส่หรือไม่ใส่ Extra virgin olive oil หรือไม่ก็ได้ ถ้าใส่ก็จะเป็น Vinaigrette สไตล์ฝรั่งซึ่งก็จะมีความหอมอร่อยอีกแบบ

2.หั่นปลาแซลมอนเป็นชิ้นตามต้องการ โรยเกลือบนเนื้อปลาเล็กน้อย

3.นำปลาไปจี่บนกระทะที่ร้อน ใส่น้ำมันเล็กน้อย เอาด้านเนื้อปลาลงก่อนจนขึ้นสีเหลืองสวย แล้วจึงพลิกเอาด้านหนังลงจี่จนหนังกรอบ และปลาสุกได้ที่

4.จัดปลาลงภาชนะและตกแต่งด้วยผักต่างๆ แล้วราดด้วยน้ำสลัด

เคล็ดลับความอร่อย

– การพักปลา หรือ เนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ (Resting) หลังจากการทำให้สุกนั้น จะช่วยให้เนื้อสัตว์คลายตัดและทำให้เนื้อสัตว์นั้นชุ่มช่ำเมื่อรับประทาน

ปิดความเห็น บน “แรงบันดาลใจ ปลุกความเป็นเชฟ” เชฟท็อป-กิตติ ดรุกาญจน์พฤฒิ

อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส ต้อนรับคณะผู้บริหาร ดิจิทัล ซีอีโอ รุ่นที่3 ดีป้า มาดูงาน

อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส ต้อนรับคณะผู้บริหาร ดิจิทัล ซีอีโอ รุ่นที่3 ดีป้า มาดูงาน

Posted on 17 สิงหาคม 2020 by writer

DSC06300-1_resize

          ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์  ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารที่เข้าร่วมอบรมหลักสูตรผู้นำการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดิจิทัล ซีอีโอ) รุ่นที่ 3 ดีป้า อาทิ นายกษาปณ์ เงินรวง นพ.ณรงค์ ธาดาเดช นพ.สินชัย ต่อวัฒนกิจกุล นายเกริกกุล โกกนุทาภรณ์ ดร.น้องนุช เหล่ามณีรัตนาภรณ์ นายยู่สิน จินตภากร นายคมสัน จำรูญพงษ์ นายเฉลิม ประดิษฐอาชีพ  ดร.นพ.ตุลวรรธน์ พัชราภา นายเผด็จ เจริญศิวกรณ์ นายบัณฑิต อัมพรศรีสุภาพ นายปฐมภพ สุวรรณศิรินายเผด็จ เจริญศิวกรณ์ นายพิศุทธิ์ อารีมิตร นางสาวศิรินทรา จงพิพัฒนสุข ดร.อลิสา คงทน เป็นต้น  มาศึกษาดูงาน นวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลของอะเมซอนและการประยุกต์ใช้ ซึ่งคณะผู้บริหารต่างให้ความสนใจเป็นอย่างมาก  ณ บริษัท อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด  เมื่อเร็วๆนี้

DSC06401-1_resize

 

ปิดความเห็น บน อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส ต้อนรับคณะผู้บริหาร ดิจิทัล ซีอีโอ รุ่นที่3 ดีป้า มาดูงาน

คณะผู้บริหาร ดิจิทัล ซีอีโอ รุ่นที่3 ศึกษาดูงาน บจ.เครดิตแห่งชาติ

คณะผู้บริหาร ดิจิทัล ซีอีโอ รุ่นที่3 ศึกษาดูงาน บจ.เครดิตแห่งชาติ

Posted on 10 สิงหาคม 2020 by writer

          ดร.รัฐศาสตร์ กรสูต รองผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) นำคณะผู้บริหารที่เข้าร่วมอบรมหลักสูตร ผู้นำการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital CEO) รุ่นที่ 3 กว่า 80 คน อาทิ นพ.ณรงค์ ธาดาเดช นายมงคล วัลยะเสวี นายบุญสันต์ ประสิทธิ์สัมฤทธ์ โดยมี นายเผด็จ เจริญศิวกรณ์ รองผู้จัดการใหญ่ บจ.ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ ให้การต้อนรับ เพื่อศึกษาดูงาน บจ.ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ ที่จะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในองค์กร ณ MS Siam Tower ถนนพระราม3 เมื่อเร็วๆนี้

ปิดความเห็น บน คณะผู้บริหาร ดิจิทัล ซีอีโอ รุ่นที่3 ศึกษาดูงาน บจ.เครดิตแห่งชาติ

รมว.กระทรวงดิจิทัลฯ เปิดหลักสูตร “ผู้นำการส่งเสริมดิจิทัลด้านธุรกิจเกษตร” รุ่นที่ 2

รมว.กระทรวงดิจิทัลฯ เปิดหลักสูตร “ผู้นำการส่งเสริมดิจิทัลด้านธุรกิจเกษตร” รุ่นที่ 2

Posted on 08 สิงหาคม 2020 by writer

4bf374433b60892cb5f0e968c7d997fcf9b35c1e63bc50873e6a592714e72ee7

          นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รมว.กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานเปิดอบรมหลักสูตร “ผู้นำการส่งเสริมดิจิทัล ด้านธุรกิจเกษตร” รุ่นที่2 พร้อมบรรยายพิเศษหัวข้อ Thailand Digital Society after COVID-19 pandemic ให้ผู้บริหารระดับสูงภาคเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ทั้งในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อเตรียมความพร้อมให้ผู้บริหารรับมือหลังวิกฤติโควิด-19 โดยมี ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) ให้การต้อนรับ ในวันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม 2563 เวลา 11.00 น.  ณ ห้องประชุมชั้น 5 อาคารลาดพร้าวฮิลล์ ถ.ลาดพร้าว 

ปิดความเห็น บน รมว.กระทรวงดิจิทัลฯ เปิดหลักสูตร “ผู้นำการส่งเสริมดิจิทัลด้านธุรกิจเกษตร” รุ่นที่ 2

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าร่วมอบรมหลักสูตรผู้นำการส่งเสริมดิจิทัลด้านธุรกิจเกษตร รุ่นที่ ๒ เตรียมความพร้อมผู้บริหารธุรกิจเกษตรภาครัฐและเอกชนหลังวิกฤติ covid-19

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าร่วมอบรมหลักสูตรผู้นำการส่งเสริมดิจิทัลด้านธุรกิจเกษตร รุ่นที่ ๒ เตรียมความพร้อมผู้บริหารธุรกิจเกษตรภาครัฐและเอกชนหลังวิกฤติ covid-19

Posted on 05 สิงหาคม 2020 by writer

            ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ “ ดีป้า” เปิดเผยว่า ตามที่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลได้กำหนดจัดอบรมหลักสูตร “ผู้นำการส่งเสริมดิจิทัลด้านธุรกิจเกษตร” รุ่นที่ ๒ (Chief of Digital Agro Business: CDA) เพื่อให้ผู้บริหารจากองค์กรหรือหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนโดยเฉพาะด้านการเกษตร อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป และธุรกิจที่เกี่ยวข้องสามารถนำองค์ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการอบรมไปประยุกต์ใช้ในการนำพาองค์กรมีความเข้มแข็ง พร้อมเข้าสู่ยุคนิวมอร์มอลได้อย่างมั่นคง หลังผ่านพ้นวิกฤตโควิด-๑๙ โดยหลักสูตรผู้นำการส่งเสริมดิจิทัลด้านธุรกิจเกษตรรุ่น ๒ จะมุ่งเน้นการส่งเสริมทักษะและองค์ความรู้ สร้างความเข้าใจจากประสบการณ์จริง พัฒนาวิสัยทัศน์การกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลด้านการเกษตรสมัยใหม่รับยุคนิวนอร์มอล ด้วยเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดิจิทัลด้านการเกษตรที่มีความทันสมัยในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็น IoT (Internet of Things) การใช้ระบบเครื่องรับรู้ เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลระดับสูง (Big Data Management) เครื่องจักรกลอัตโนมัติ (Robot) ระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) อากาศยานไร้คนขับ (Drone), Cloud, AR & VR, Blockchain, Digital Marketing และการวิจัยทางเทคโนโลยีชีวภาพ รวมถึงการบริหารจัดการผลิตผลเกษตรแบบครบวงจร

ทั้งนี้สำนักงานฯได้ดำเนินการพิจารณาผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมตามหลักเกณฑ์ที่หลักสูตรกำหนดไว้เรียบร้อยแล้ว จึงออกประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าร่วมอบรมหลักสูตรผู้นำการส่งเสริมดิจิทัลด้านธุรกิจเกษตร รุ่นที่ ๒ (Chief of Digital Agro Business)  จำนวน ๖๙ คน ประกอบด้วยข้าราชการภาครัฐ จำนวน ๑๕ คน วิสาหกิจและองค์กรมหาชน จำนวน ๑๗ คน ภาคเอกชน ๓๗ คน

ข้าราชการภาครัฐ จำนวน ๑๕ คน ดังนี้

  1. นายกิติกร ลิมปนพงศ์เทพ ผู้ช่วยสมาชิกรสภาผู้แทนราษฎร์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร์
  2. ดร.ชินาวุธ ชินะประยูร ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ด้านเศรษฐกิจดิจิทัล สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
  3. นายชิษณุชา บุดดาบุญ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ข้าว กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  4. นางณฐอร อินทร์ดีศรี ผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
  5. นายณัฐพล แผนกุล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งสมอ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งสมอ จังหวัดกาญจนบุรี
  6. นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วย รมว. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  7. นายนิกุล อ่อนอุบล ปลัดเทศบาลปฏิบัติหน้าที่ นายกเทศมนตรีเมืองบ้านดุง สำนัักงานเทศบาลเมืองบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี
  8. นายเบญจพล พาลี ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
  9. นางสาวพัทธิอร กาฬสุวรรณ ผู้อำนวยการกองกองทุนและส่งเสริมความเสมอภาคคนพิการ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
  10. นายพิชญะ ใหญ่แก่นทราย ผู้อำนวยกลุ่มแผนงานและงบประมาณ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
  11. นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  12. นางลักขณา ตั้งจิตนบ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมธุรกิจ SME สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
  13. ดร.วัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ
  14. ดร.สมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น
  15. นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

วิสาหกิจและองค์กรมหาชน จำนวน ๑๗ คน ดังนี้

  1. นายเกรียงไกร กัลหะรัตน์ รองผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายและกลยุทธ์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
  2. นางจงกลนี แก้วสด ผู้อำนวยการสำนักดิจิทัลและสารสนเทศ องค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  3. ดร.จิราพร ศิริคำ ผู้ช่วยผู้ว่าการวิจัย นวัตกรรม และการพัฒนาธุรกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
  4. นายณรงค์ ขันติวิริยะกุล ผู้อำนวยการฝ่่ายสินเชื่อบุคคล ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
  5. นายแพทย์ธนกฤต จินตวร รองผู้อำนวยการสถาบัน สถาบันการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ (GBDi)
  6. นายธนภัทร ฉัตรสุวรรณ วิศวกรระดับ 11 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
  7. พันเอก ดร. นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กสทช.
  8. นายปณิธาน มีไชยโย รองผู้อำนวยการ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร
  9. นายภานิต ภัทรสาริน ผู้ช่วยผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
  10. นายภานุ เนื่องจำนงค์ นักภูมิสารสนเทศชำนาญการ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)
  11. ดร.เมธี พยอมยงค์ ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง(องค์การมหาชน)
  12. นายยุทธพงศ์ มีแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า ธนาคารเพื่่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
  13. นายวิทวัส ปัญญาแหลม ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายกิจการสาขา ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
  14. นายสิทธิพร ก้อนแก้ว รองผู้อำนวยการฝ่ายใบยา การยาสูบแห่งประเทศไทย
  15. ดร.สุรจิต ลักษณะสุต ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายโครงสร้างเศรษฐกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย
  16. นายเสกสรรค์ จันทร์ขวาง ผู้ช่วยผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
  17. ดร.อัจฉรา ภาวศุทธิ์ นักวิจัย สำนักวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)

ผู้บริหารภาคเอกชน จำนวน  ๓๗ คน ดังนี้

  1. นายเกรียงไกร วัฒนาสว่าง รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด
  2. ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล ประธานบริษัท บริษัท เอ็ม.ที.อาร์.แอสเส็ท แมนเนเจอร์ จำกัด
  3. นายชวิศ ยงเห็นเจริญ กรรมการ บริษัท ชลิต อินดัสทรี จำกัด
  4. นางสาวณพีรา เตชาชาญ กรรมการบริษัท บริษัท เอเชีย วอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด
  5. นายณรัณ รติพาณิชย์วงศ์ กรรมการผู้จััดการ บริษัท พีทูพี อินเทลลิเจนซ์ จำกัด
  6. นายณัฐสรณ์ ดำเนินชาญวนิชย์ ผู้อำนวยการฝ่ายการลงทุน บริษัท มายกรีนวิลเลจ จำกัด
  7. นางสาว ดวงพร อุดมทิพย์ ผู้สื่อข่าว เศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
  8. นางทัศนีย์ ทองมี รองประธานกรรมการอาวุโส บริษัท เอเอสดี ดิทริบิวชั่น จำกัด
  9. นายธนบดี สวัสดิ์ศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลีกัล เอาท์ซอร์ส จำกัด
  10. นายธนา ใยบัวทอง กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท แอดวานซ์ อินดัสทรี เทคโน แอนด์ เซอร์วิส จำกัด
  11. ดร.ธีรญา กฤษฎาพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สเปเชียลตี้ อินโนเวชั่น จำกัด
  12. นายธำรงเกียรติ อุทัยสาง รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เปเปอร์เมท (ประเทศไทย) จำกัด
  13. นายนคินทร์ ปิยารมย์ ผู้อำนวยการ Industrial Supply Business บริษัท เอสซีจี อินเตอร์เนชั่นแนลคอร์ปอเรชั่น จำกัด
  14. นางสาวนันทวรรณ สุริย์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร Retail Omni Chanel Strategy & Experience บริษัท ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
  15. นางบุญญนันท์ พนาพิทักษ์กุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท พิทักษ์ปาล์มออยล์ จำกัด
  16. นางปิยะนุช สัมฤทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท นิ่มโลจิสติกส์ จำกัด
  17. นายปุณนะ วงศ์ธนาศิริกุล ผู้จัดการฝ่ายแทรกเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด
  18. นางพรพนิต รัตนกุล กรรมการบริหาร บริษัท ยูนิไลฟ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
  19. นางสาวพิมพ์พจี ศศิเศรษฐ์ นักวางแผนพัฒนาธุรกิจ บริษัท เคมเทรด จำกัด
  20. ดร.มลวิภา เตชาวัฒนากูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอ.ที.โซลูชั่น คอมพิวเตอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด
  21. นายมิตรดนัย สถาวรมณี กรรมการผู้จัดการ บริษัท โคโร บราเธอร์ จำกัด
  22. นายรัสชัย เหรียญพาณิชย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อาร์ พี เอ็น อกริคัลเจอร์ จำกัด
  23. นางสาววารุณี ฉัตรทนานนท์ ผู้จัดการฝ่ายบัญชี บริษัทโนเนม ไอเอ็มซี จำกัด
  24. นายวิเธียรณ์ จันทะเรือง ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ซิสโก้ ซิสเต๊มท์ (ประเทศไทย) จำกัด
  25. นายวีรวัฒน์ กำจรวงศ์ไพศาล ผู้จัดการฝ่ายวิศวกรรม 2 บริษัท คูโบต้า รีเสิร์ช แอนด์ ดีเวลลอปเมนท์ เอเชีย จำกัด
  26. นายวีรศักดิ์ อนุสนธิวงษ์ กรรมการบริษัท บริษัท สิทธิโชค 1962 จำกัด
  27. นางสาวศลิษา หาญพานิช ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
  28. นายศุภชัย สามเสน ผู้จัดการด้านธุรกิจ บริษัท สยามราชธานี จำกัด (มหาชน)
  29. นายสมัย ลี้สกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ทีอาร์ซี คอนสรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
  30. นายสวาท ธีระรัตนนุกูลชัย ประธานหอการค้าจังหวัดอุดรธานี หอการค้าจังหวัดอุดรธานี
  31. นายสุภกิจ ลักษณะศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โอเอ็มซีเทค จำกัด
  32. นายสุมล วิจิตรโกเมน คณะกรรมการบริหาร สหกรณ์พุทธมลฑล
  33. นายสุวิทัศท์ สุรสิงห์โตทอง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้ง บริษัท ลีโอเทคโนโลยี แอนด์ มาร์เกตติ้ง จำกัด
  34. นางสาวอโณทัย ดลพิทักษ์ กรรมการผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด ปัญญาอีเล็คโทรนิค
  35. นางสาวอรวรรณ ติลกเรืองชัย กรรมการ บริษัท เวิลด์ฟู้ดอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
  36. นายอาณัติ กลิ่นส่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ พี ลิงค์ จำกัด(สำนักงานใหญ่)
  37. นางสาวอินทิรา ฟุ้งมงคลเสถียร ผู้จัดการฝ่ายการพัฒนาธุรกิจดิจิทัล บริษัท เอสซีจี โลจิสติกส์แมเนจเม้นท์ จำกัด

            “ดีป้า มั่นใจว่า ผู้บริหารที่ผ่านหลักสูตรผู้นำการส่งเสริมดิจิทัลด้านธุรกิจเกษตร รุ่นที่ ๒ จะสามารถนำองค์ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลภาคการเกษตรที่ได้รับจากการอบรมไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาศักยภาพองค์กรของตนให้มีประสิทธิภาพ รับวิถีชีวิตใหม่หลังผ่านโควิด-๑๙ ให้พร้อมแข่งขันทั้งในระดับประเทศและระดับสากล อีกทั้งรองรับการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลในอนาคตอันใกล้นี้” ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าว

            ทัศนะของผู้บริหารที่ผ่านหลักสูตรผู้นำการส่งเสริมดิจิทัลด้านธุรกิจเกษตร รุ่นที่ ๑ ของดีป้าที่ผ่านมา เช่น นายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการ จ.อุบลราชธานี เปิดเผยว่า “ความรู้ในหลักสูตรนี้ ได้เอามาใช้ช่วงโควิดได้เลย นอกจากนี้เทคโนโลยีดิจิทัลจะมีบทบาทมากที่จะไปปลี่ยนแปลงบุคลากรให้ความตระหนักและมีความสามารถที่จะนำเอาการบริการใหม่ๆมาประยุกต์กับความรู้ทางด้านดิจิทัลไปใช้บริการประชาชนให้เกิดคุณภาพสูงสุด”

            นายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีนครยะลา เปิดเผยว่า “เครือข่ายผู้นำและความรู้ประสบประการที่ได้จากหลักสูตรนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้รับมือในช่วงโควิดนี้ รวมทั้งการปรับตัวกับ new normal ที่จะเกิดขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ถ้าผู้นำภาครัฐและเอกชนได้เข้ามาศึกษาในหลักสูตรนี้ ก็จะเป็นประโยชน์กับหน่วยงานและประเทศชาติเป็นอย่างยิ่ง”

            นายสมานพงษ์  เกลี้ยงลำยอง รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank) เปิดเผย ว่า “หลักสูตรได้รวบรวมวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิได้ หลากหลายดีมาก ได้รู้จักเทคโนโลยีใหม่ๆ ทั้งด้านเกษตร อุตสาหกรรมและตลาดดิจิทัล ทำให้เข้าใจผู้ประกอบการ sme ใหม่ๆได้มากขึ้น มาช่วยขับเคลื่อนนโยบายของแบงก์ในการช่วยเหลือ sme ได้อย่างมาก”

            นายประวิทย์  ธงชัยระวีวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลบอล ครอปส์ จำกัด “ได้ update ความรู้ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ต่างๆจากทั้งวิทยากรและเพื่อนๆร่วมหลักสูตร มีประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจในยุคใหม่นี้อย่างมาก”

ปิดความเห็น บน ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าร่วมอบรมหลักสูตรผู้นำการส่งเสริมดิจิทัลด้านธุรกิจเกษตร รุ่นที่ ๒ เตรียมความพร้อมผู้บริหารธุรกิจเกษตรภาครัฐและเอกชนหลังวิกฤติ covid-19

สิงหาคม 2020
พฤ อา
« ก.ค.   ก.ย. »
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31  

RELATED SITES