โรคปอดบวม” ปัญหาสุขภาพหลักของเด็กทั่วโลก

Posted on 20 ธันวาคม 2011 by admin

แม้ว่ากุมารแพทย์ทั่วโลกจะให้ความสำคัญและหาแนวทางป้องกันโรค ปอดบวมอย่างต่อเนื่องตลอดหลายปีที่ผ่านมา แต่ “โรคปอดบวม” ก็ยังคงเป็นปัญหาสุขภาพหลักของเด็กทั่วโลก โดยจากสถิติขององค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า โรคปอดบวมเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบทั่วโลกกว่าปีละ 2 ล้านคน ติดต่อกันมายาวนาน หรืออาจพูดได้ว่าทุกๆ 20 วินาที จะมีเด็กเล็กเสียชีวิตด้วยโรคปอดบวม 1 คน ซึ่งร้อยละ 98 หรือประมาณ 1,960,000 คน เป็นเด็กเล็กที่อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา

ดังนั้นองค์กรพันธมิตรวันปอดบวมโลก (World Pneumonia Day Coalition) ซึ่งก่อตั้งมาจาก 125 องค์กรสุขภาพทั่วโลก จึงร่วมรณรงค์ “วันปอดบวมโลก” (World Pneumonia Day) ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 12 พฤศจิกายน 2554 เพื่อเร่งลดอุบัติการณ์การเสียชีวิตของเด็กเล็กจากโรคปอดบวมลงอย่างเป็น รูปธรรม โดยกระตุ้นให้ทุกประเทศรณรงค์ให้ความรู้ในการป้องกันโรคปอดบวมให้กว้างขวาง ยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดความร่วมมือจากทุกภาคไม่ว่าจะเป็นองค์กรสุขภาพต่างๆ ภาครัฐ ภาคเอกชน รวมทั้งประชาชน พร้อมจัดทำเวบไซด์ www.worldpneumoniaday.org เพื่อเป็นศูนย์กลางความรู้ และเฝ้าระวังอุบัติการณ์โรคปอดบวม
สำหรับ ในประเทศไทย จากข้อมูลการเฝ้าระวังโรคของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า ตั้งแต่วันที่ 1มกราคม – 9 พฤษภาคม 2554 พบผู้ป่วยโรคปอดบวมทั้งสิ้น 54,705 คน โดยพบผู้ป่วยเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี มากที่สุดถึงร้อยละ 40 รองลงมาเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป ร้อยละ 29 โดยมีผู้เสียชีวิตจากโรคปอดบวมทั้งหมด 325 คน ซึ่งจะเห็นได้ว่าเพียงไม่กี่เดือนก็มีผู้เสียชีวิตมากถึงขนาดนี้แล้ว แล้วยิ่งในปัจจุบันเกิดมรสุมพัดผ่านประเทศไทยทำให้เกิดฝนตก ทำให้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย รวมทั้งเกิดภาวะน้ำท่วมอย่างหนัก สำหรับเด็กที่ไปเล่นน้ำหากเกิดการสำลักน้ำอาจทำให้มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปใน ปอดได้ ทำให้มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่างๆได้มากขึ้น โดยหนึ่งในโรคที่มากับฝนและน้ำท่วมที่สำคัญ ได้แก่ โรคปอดบวม และโรคระบบทางเดินหายใจต่างๆ ซึ่งติดต่อกันได้ง่ายในสถานที่ที่มีเด็กอยู่รวมกันเยอะๆ รวมถึงสถานที่พักพิงผู้ประสบภัยน้ำท่วม ก็อาจทำให้มีการแพร่ระบาดของโรคปอดบวมและโรคอื่นๆได้ง่ายขึ้น
แม้ ว่าโรคปอดบวมจะเป็นโรคที่เด็กๆเป็นได้บ่อย แต่ในความเป็นจริงแล้วโรคปอดบวมมีความรุนแรงมากกว่าที่คิด ที่สำคัญที่สุดที่พ่อแม่ทุกคนพึงระลึกไว้เสมอคือ เด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบทุกคนเป็นกลุ่มเสี่ยงที่สำคัญของโรคปอดบวม แม้ว่าจะเป็นเด็กที่มีสุขภาพดีและแข็งแรงก็ตาม และเด็กเล็กจะมีความเสี่ยงสูงขึ้นหลายเท่า หากมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่นเด็กที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เด็กที่เป็นโรคหัวใจ เด็กที่ไม่มีม้าม และเด็กเล็กที่มีน้ำหนักแรกคลอดต่ำกว่า 1,500 กรัม ตลอดจนเด็กที่อยู่รวมตัวกันหนาแน่น เช่น เด็กในโรงเรียนอนุบาล และสถานเลี้ยงเด็กกลางวัน ดังนั้นการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคปอดบวม ควบคู่ไปกับป้องกันจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราทุกคนต้องใส่ใจ
สาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคปอดบวม
โรค ปอดบวมเกิดได้จากเชื้อหลายชนิด เช่น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือทั้งเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรียร่วมกัน แต่ที่พบบ่อยที่สุด คือเชื้อไวรัส แต่โรคจะหายได้จากการที่ร่างกายสามารถสร้างภูมิต้านทานมากำจัดเชื้อไวรัสได้ เอง  รองลงมาคือเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย โดยพบว่าโรคปอดอักเสบที่เกิดจากเชื้อนิวโมคอคคัสพบมากที่สุด เพราะเชื้อนิวโมคอคคัส อยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด เพราะเป็นเชื้อแบคทีเรียดังกล่าว และแบคทีเรียอื่นๆ อาศัยอยู่ในเยื่อบุโพรงจมูก ลำคอของคนเรา  เมื่อเยื่อบุดังกล่าวถูกทำลายจากการเป็นหวัดเรื้อรัง หรือมีน้ำมูกคั่งในโพรงจมูกลูกน้อยเป็นเวลานาน ก็มีโอกาสที่เชื้อนิวโมคอคคัสก็จะหลุดเข้าสู่ร่างกายได้ตลอดเวลา ซึ่งนอกจากเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัสแล้ว พ่อแม่ยังต้องระวังเชื้อแบคทีเรียเอ็นทีเอชไอ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการติดเชื้อรุนแรงในหูชั้นกลางด้วย
ที่ สำคัญเชื้อนิวโมคอคคัสอาจจะแพร่กระจายไปยังอวัยวะต่างๆ และก่อให้เกิดโรคติดเชื้อรุนแรงในอวัยวะนั้นๆ ได้ และทำลายระบบต่างๆ ที่สำคัญของร่างกายในเวลาเพียงไม่กี่วัน เช่น โรคปอดบวมหรือปอดอักเสบ ซึ่งเมื่อเนื้อเยื่อปอดถูกทำลาย ทำให้ไม่สามารถส่งออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ หากรุนแรงจะทำให้ระบบหายใจล้มเหลว และทำให้เสียชีวิตในที่สุด นอกจากนี้เชื้อดังกล่าวยังสามารถก่อให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือฝีในสมอง โรคติดเชื้อในกระแสเลือด โรคหูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน (หูน้ำหนวก) ได้ ดังนั้นพ่อแม่จึงควรสังเกตสัญญาณความผิดปกติของลูกน้อยอย่างใกล้ชิด เมื่อลูกน้อยไม่สบาย
วิธีสังเกตอาการที่อาจบ่งบอกว่าเป็นโรคปอดบวม
อาการ แสดงของโรคปอดบวมในเด็ก เช่น มีไข้ ไอ หายใจถี่และหอบ หายใจลำบากหรือมีเสียงดังวี๊ดๆ หรือหายใจแรงจนซี่โครงบุ๋ม  ถ้าพบว่าเด็กมีอาการ ไข้  ไอบ่อย หรือหายใจเร็ว ซึ่งพ่อแม่สามารถดูได้จากอัตราการหายใจ ซึ่งในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 1 ขวบ หายใจเร็วมากกว่า 50 ครั้งต่อนาที และในเด็กเล็กที่มากกว่า 1 ขวบ หายใจเร็วมากกว่า 40 ครั้งต่อนาที ให้สงสัยว่า เด็กอาจเป็นโรคปอดอักเสบ ควรพาไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจยืนยันและการรักษาที่ถูกต้อง  หากพ่อแม่นิ่งนอนใจ  ปล่อยทิ้งไว้นานเด็กอาจมีอาการหอบ หายใจลำบาก มีอาการรุนแรงมากขึ้นและอาจไม่ทันการ
การป้องกันลูกรักให้ห่างไกลจากโรคปอดบวม
การ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยเป็นสิ่งสำคัญเพื่อป้องกันโรคปอดบวม ด้วยการเลี้ยงดูเด็กให้มีสุขภาพแข็งแรง ให้ทารกดูดนมแม่ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย การทำร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอเป็นสิ่งที่สำคัญมาก และสอนให้เด็กรู้จักรักษาสุขอนามัยเป็นประจำ โดยเฉพาะการล้างมืออย่างถูกวิธีเป็นประจำจะช่วยลดการติดเชื้อที่สัมผัสติดมา กับมือได้ รวมทั้งการใส่หน้ากากอนามัย นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการพาเด็กเล็กไปในที่ชุมชนและสถานที่แออัดเป็นเวลา นานๆ หมั่นทำความสะอาดโพรงจมูกลูกน้อย อย่าให้มีน้ำมูกคั่งเป็นเวลานาน ที่สำคัญอาจปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาเสริมภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีนไอพีดี ปอด-หูอักเสบ ที่นอกจากจะช่วยลดโอกาสเสี่ยงจากโรคปอดบวม ปอดอักเสบ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และโรคติดเชื้อในกระแสเลือดจากเชื้อนิวโมคอคคัสแล้ว ยังช่วยป้องกันโรคหูชั้นกลางอักเสบที่เกิดขากเชื้อเอ็นทีเอชไอได้อีกด้วย ซึ่งสำหรับในประเทศไทยวัคซีนไอพีดี ยังเป็นวัคซีนทางเลือก โดยพ่อแม่เด็กต้องพิจารณาถึงความคุ้มค่าเอง
ถึงแม้ว่า วันนี้ต้องมีเด็กเล็กที่ต้องสังเวยโรคปอดบวมมากมาย แต่ก็ยังไม่สายหากเราร่วมมือป้องกันโรคปอดบวมให้พ้นจากลูกหลานของเราอย่าง จริงจังตั้งแต่ตอนนี้ เพราะนั่นหมายถึงชีวิตน้อยๆที่ไม่ต้องสูญเสียให้โรคร้ายในทุกๆ 20 วินาที
# # #

ศ.พญ.อุษา ทิสยากร
นายกสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย

Comments are closed.

ธันวาคม 2011
พฤ อา
    ม.ค. »
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031  

RELATED SITES